หน้าเว็บ

การทำโครงงาน

การทำโครงงาน
แนวคิดการทำโรงงานระดับชั้น ปวช. 3

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การทำโครงงาน ปวช./ปวส.

บทที่1

การตั้งชื่อหัวข้อโครงงาน ควรประกอบด้วย
1.ลักษณะของการศึกษา เช่น
1.1 การศึกษาแบบสำรวจ คือการศึกษาสภาพที่เป็นปัจจุบันจะมีทั้งข้อดีข้อเสียในการนำไปพิจารณา
1.2 การศึกษาแบบเปรียบเทียบ คือการศึกษาสภาพที่เป็นปัจจุบันและสภาพหลังจากได้รับการแก้ไขแล้วเพื่อเปรียบเทียบ
1.3 การศึกษาแบบหาความสัมพันธ์ คือการศึกษาหาค่าความพึงพอใจจากบุคคลหนึ่งต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
1.4 การศึกษาแบบสร้างนวัตกรรม คือการศึกษาค้นคว้าหานวัตกรรมไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหรือการส่งเสริมแรงบวกกับ
สภาพนั้นๆ
2.ควรมีตัวแปรที่ศึกษาคือ (รูปแบบ/ชิ้นงาน/อะไรก็ตาม)ที่สามารถทำให้ (แก้ปัญหาได้/มีการเปลี่ยนแปลง)และผลที่เกิดขึ้น
3.กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่ต้องตอบแบบสอบถามเพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์

ความสำคัญของโครงงาน
ควรเป็นข้อมูลที่บ่งบอกถึงสภาพหรือปัญหาในปัจจุบันว่ามีความจำเป็นต้องมีการแก้ไขโดยการทำโครงงานขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแบบ
อย่างในการแก้ไขปัญหานั้นๆ

วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เป็นการบอกถึงเจตจำนงของผู้ทำโครงการว่าต้องการดำเนินการอย่างไร เพื่อที่จะค้นพบสิ่งที่เป็นประเด็นตามปัญหาที่กำหนด
โดยอาศัยหลักดังนี้
1.1 เขียนให้สอดคล้องกับสภาพและปัญหาของโครงงาน
1.2 ถ้ามีหลายข้อให้เขียนจากวัตถุประสงค์หลักไปหาวัตถุประสงค์ย่อย
1.3 จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "เพื่อ"

ขอบเขตของโครงงาน
1.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
2.ตัวแปรอิสระ
3.ตัวแปรตาม

นิยามศัพท์เฉพาะ
เป็นความหมายของคำที่อาจต้องให้ความหมายให้ชัดเจนว่าคืออะไรในการทำโครงงานซึ่งโดยปกติจะได้จากบทที่ 2

กรอบแนวคิดในการทำโครงงาน
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ กับ ตัวแปรตาม


บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
1.การวางเค้าโครงเอกสารที่เกี่ยวข้อง (เขียนเป็นรายการเหมือนสารบัญ)
1.1 ความหมาย
1.2 ความสำคัญ
1.3 วิธีการ (ถ้ามี)

บทที่ 3

วิธีการดำเนินงาน
1.กล่าวถึงประชากรและกลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา
2.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล (แบบสอบถามความเห็น/แบบทดสอบวัดทักษะ/แบบฟอร์มการสังเกตพฤติกรรม/ชิ้นงานเพื่อการทดลอง และอื่นๆเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล)
3.ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ( มีหลักเกณท์อย่างไร?)
4.วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (มีหลักเกณท์อย่างไร?)
5.การวิเคราะห์ข้อมูล (มีทฤษฎีอะไรในการวิเคราะห์)
6.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (ใช้สูตรอะไรในการวิเคราะห์)


บทที่ 4

1.สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2.การวิเคราะห์ข้อมูล
3.ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (จากการวิเคราะห์แล้วนำผลการวิเคราะห์มาแสดง)


บทที่ 5

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
เป็นการสรุปตามผลการวิเคราะห์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ